ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการกำเนิดสัญญาณภาพกล้องวีดีโอชนิดต่างๆ และการบันทึกสัญญาณลงในแถบแม่เหล็ก vcd, dvd, Hard Disk, Media player และอื่นๆ การนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ระบบโทรทัศน์วงจรปิด catv, matv ระบบรักษาความปลอดภัย ขั้วต่อสายนำสัญญาณ อุปกรณ์รวมสัญญาณ อุปกรณ์แยกสัญญาณ เครื่องขยายสัญญาณภาพ การตัดต่อภาพ วิธีการเชื่อมต่อสัญญาณแบบใช้สาย และแบบไร้สาย การทดสอบระบบภาพด้วยเครื่องมือวัดทดสอบคุณสมบัติของวงจรระบบภาพและการประมาณราคาการติดตั้งและซ่อมบำรุงรักษาระบบ

จุดประสงค์รายวิชาเพื่อให้

1. เข้าใจหลักการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์

2. ข้าใจการทำงานของวงจรเครื่องรับโทรทัศน์

3.  มีทักษะในการใช้เครื่องมือและทดสอบการทำงานของวงจรเครื่องรับโทรทัศน์

4. ทักษะในการวิเคราะห์อาการเสียและตรวจซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์

5. มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประณีต รอบคอบ ปลอดภัย และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ

 สมรรถนะรายวิชา

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องรับโทรทัศน์

2. ปรับแต่ง ตรวจซ่อม และบำรุงรักษาเครื่องรับโทรทัศน์

3. ประเมินราคาการตรวจซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์

คำอธิบายรายวิชา

      ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและมาตรฐานรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ หลักการทำงานของกล้องถ่ายโทรทัศน์ จอภาพแบบ  CRT, LCD, Plasma  และแบบ LED การทำงานของวงจรภาครับภาคสัญญาณเสียง (Audio) ภาคสัญญาณสี (Luminance Signal) ภาคสัญญาณซิงค์(Sync) ภาคควบคุมการสแกน (Deflection) ภาคขยายสัญญาณภาพ (Video Amp) ภาคเมทริกซ์(Matrix) ภาคจ่ายไฟฟ้า (Power Supply) และวงจรที่เกี่ยวข้องการใช้เครื่องมือวัดทดสอบมาตรฐานสัญญาณโทรทัศน์ การปรับแต่งและตรวจซ่อมเครื่องรับโทรทัศน์ การบำรุงรักษาเครื่องรับโทรทัศน์แบบจอภาพ CRT จอภาพ LCD จอภาพ Plasma และจอภาพ LED รวมทั้งการประเมินราคาเบื้องต้น


จุดประสงค์รายวิชา  เพื่อให้

 1. เข้าใจหลักการด้านเทคโนดลยีในระบบสื่อสารโทรคมนาคมและองค์กรเกี่ยวกับการสื่อสาร

2.  เข้าใจหลักการสื่อสารทางสาย  ทางคลื่นวิทยุ  และทางแสง

3. เข้าใจหลักการสื่อสารข้อมูลแบบแอนาลอกและดิจิตอล

4.  มีกิจนิสัยในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

 สมรรถนะของรายวิชา

แสดงความรู้เกี่ยวกับระบบสื่อสารโทรคมนาคมเบื้องต้น

 คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาวิวัฒนาการของเทคโนโลยีระบบสื่อสารโทรคมนาคม  สถาบันและสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร  หลักการสื่อสารข้อมูลแบบแอนาลอกและดิจิตอล  การสื่อสารทางโทรศัพท์   วิทยุ  โทรศัพท์เคลื่อนที่  ไมโครเวฟ  การสื่อสารดาวเทียม  การสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสง  หลักการโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล  ISDN  ( Integrated  Service  Digital  Network )  และโปรโตคอล (Protocol)


จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้

1.             เข้าใจการทำงานของวงจรภาคต่าง ๆ ในเครื่องขยายเสียง

2.             มีทักษะเกี่ยวกับการประกอบวงจรเครื่องขยายเสียงแบต่าง ๆ

3.             มีทักษะในการใช้เครื่องมือวัด และทดสอบคุณสมบัติของเครื่องขยายเสียง

4.             มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย

สมรรถนะรายวิชา

1.             แสดงความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือ

2.             ประกอบ ทดสอบ ปรับแต่งและใช้งานวงจรเครื่องเสียง

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับสัญญาณเสียง บล็อกไดอะแกรมของเครื่องขยายเสียง วงจรขยายเสียงคลาส A, AB, B, C และ D วงจรเพาเวอร์ซัพพลาย วงจรขยายแรงดันไฟฟ้าและวงจรกลับเฟสวงจรขยายกำลังแบบ OT, OTL OCL และวงจรขยายแบบไดเร็กคัปปลิง วงจรลิมิตเตอร์ วงจรป้อนกลับโทนคอนโทรล ปรีแอมปลิฟายเออร์ มิกเซอร์ วงจรเครื่องขยายเสียงแบบโมโน สเตอริโอ วงจรครอสโอเวอร์เน็ทเวิร์ค วงจรป้องกันลำโพง อุปกรณ์ประกอบเครื่องขยายเสียง ลำโพง ไมโครโฟนสายสัญญาณ แมตชิงแบบ Balance และแบบ Unbalance ปลั๊ก แจ๊ค การประกอบ ทดสอบและปรับแต่งวงจรเครื่องขยายเสียง การใช้เครื่องมือวัดและทดสอบคุณสมบัติของวงจรและอุปกรณ์เครื่องเสียง หลักการบันทึกเสียงบนแถบเทปและ CD เพื่อหาคุณลักษณะการตอบสนองความถี่ กำลังวัตต์ค่าอิมพีแดนซ์และค่าอื่น ๆ การต่อเครื่องขยายเสียงกับระบบอื่น ๆ


ศึกษาและปฏิบัติ การใช้โปรแกรมเขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรม Visio และโปรแกรมอื่นๆ  เช่น Protel, Orcad, Proteus Professional, PCB Wizard, Altium Design เป็นต้นออกแบบ อ่านและเขียนแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์วงจรพิมพ์ ชนิดหน้าเดียวและหลายหน้า ลายพิมพ์ สัญลักษณ์ของอุปกรณ์  การพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์

คำอธิบายรายวิชา

                ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการกำเนิดสัญญาณภาพ กล้องวิดีโอชนิดต่างๆ และการบันทึกสัญญาณลงในแทบแม่เหล็ก VCD,DVD,HardDisk,Media Player และอื่นๆ การนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ระบบโทรทัศน์วงจรปิด CATV MATV ระบบรักษาความปลอดภัยขั้วต่อ สายนำสัญญาณ อุปกรณ์รวมสัญญาณ